จังหวัดนครศรีธรรมราช

"นครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ
แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัด มากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู"

ข้อมูลทั่วไป :

นครศรีธรรมราช เป็นเมืองเก่ามีความหมายถึง “นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม” หรือ “เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่” นครศรีธรรมราชอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยทางรถยนต์ประมาณ 780 กิโลเมตร และทางรถไฟประมาณ 832 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 9,942.502 ตารางกิโลเมตร

ประวัติความเป็นมา :

เมืองคนดีนครศรีธรรมราชเป็นเมืองที่มีเสน่ห์น่าไปเยือนมากเมืองหนึ่งนอกจาก จะมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และสวยงาม เช่นเขาหลวง หรือชุมชนพัฒนาตัวอย่างที่บ้านคีรีวง ที่เมืองนครฯก็ยังเป็นแหล่งศิลปะวัฒนธรรม ทั้งหนังตะลุง โนรา ที่แฝงไว้ด้วยคติธรรม และเป็นเมืองพุทธในแดนใต้ ดังมีพระมหาธาตุวรมหาวิหาร มรดกทางวัฒนธรรมที่เมืองนครมีอยู่ในปัจจุบันนั้นได้รับการสะสมมาจากประวัติ ศาสตร์อันยาวนานกว่า 1800 ปี

“ตามพรลิงค์” คือแคว้นที่เคยตั้งอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชปัจจุบัน ได้รับการบันทึกอยู่ในเอกสารมิลินทปัญหาของอินเดียตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 5 และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่พ่อค้าจากอินเดีย จีน ตะวันออกกลาง ด้วยเป็นเมืองท่าที่สำคัญ ตั้งอยู่บนคาบสมุทรที่กั้นน่านน้ำทั้งสองด้าน จึงเหมาะที่จะเป็นเส้นทางแลกเปลี่ยนสินค้าจากทั้งสองฝั่งสมุทร และประกอบกับมีอ่าวที่เป็นท่าจอดเรือได้ พร้อมกันนั้นศาสนาพราหมณ์ก็ได้แพร่เข้ามาด้วย พบหลักฐานมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-14

ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 14-16 อาณาจักรศรีวิชัยที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองครหิ ไชยา มีอำนาจปกครองเหนือดินแดนแถบคาบสมุทร พุทธศาสนานิกายมหายานจึงได้แพร่เข้ามาที่แคว้นตามพรลิงค์ด้วย

เมื่อเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 17-18 แคว้นตามพรลิงค์รุ่งเรืองสูงสุด ผู้ครองแคว้นตั้งตนเป็นกษัตริย์ทรงนามพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช พร้อมกันนั้นได้สถาปนาราชวงศ์ปทุมวงศ์ และแผ่อิทธิพลรวมทั้งพุทธศาสนาไปยังเมืองต่างๆในภาคใต้ จนเป็นที่ยอมรับว่านครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยนั้น

เมืองนครศรีธรรมราช หรือ นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม รุ่งเรืองอยู่ประมาณร้อยกว่าปี และเสื่อมลงเมื่อยกทัพไปตีเมืองลังกา และโจรชวาถือโอกาสเข้าปล้นเมืองถึง 3 ครั้งประกอบกับเกิดไข้ห่าระบาด จึงเป็นเหตุให้บ้านเมืองถูกทิ้งร้าง จนกระทั่งสมัยอยุธยา ผู้คนเริ่มกลับมาตั้งบ้านเมืองใหม่อีกครั้ง และนครศรีธรรมราชได้กลายมาเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรอยุธยา

ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในช่วงรัชกาลที่ 5 ได้มีการแก้ไขการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ใหม่ นครศรีธรรมราชได้เปลี่ยนฐานะเป็นมณฑลนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2439 จนกระทั่ง พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้ยุบมณฑลนครศรีธรรมราชและเปลี่ยนมาเป็น จังหวัดนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน

การเดินทาง :

ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯ โดยทางหลวงหมายเลข 35 (สายธนบุรี-ปากท่อ) แยกเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4 หรือจะใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์จนถึงชุมพร เปลี่ยนมาใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอทุ่งสง อำเภอร่อนพิบูลย์ จนถึงนครศรีธรรมราช หรือจะเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านนครปฐม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงอำเภอท่าฉาง จังหวัดชุมพร แล้วจากนั้นให้แยกเข้าสู่สุราษฎร์ธานีโดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 401 เลียบชายฝั่งทะเลไปจนถึงนครศรีธรรมราช

ทางรถโดยสาร
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารปรับอากาศชั้นหนึ่ง และรถโดยสารธรรมดาออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี (ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 435-1200, 434-7192

นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัทเอกชน ได้แก่
กรุงสยามทัวร์ โทร. 282-0261, 280-2118 หรือ โทร. (075) 341665
นครศรีทัวร์ โทร. 435-5033, 435-5025 หรือโทร. (075) 342134
โสภณทัวร์ โทร. 281-2882-3 หรือ โทร. (075) 341221
นครศรีร่มเย็นทัวร์ โทร. 435-7428, 435-5016, 433-0722 หรือ โทร. (075) 344373, 315390

ทางรถไฟ
มีขบวนรถเร็ว และรถด่วน กรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช ออกจากสถานีกรุงเทพฯ ถึงนครศรีธรรมราช ระยะทาง 832 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีขบวนรถด่วน และรถเร็วอีกหลายขบวนผ่านสถานีชุมทางทุ่งสง ซึ่งสามารถจะต่อรถไฟ หรือรถยนต์เข้าสู่นครศรีธรรมราชได้อีกต่อหนึ่ง ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร. 223-7010, 223-7020 หรือที่ สถานีรถไฟนครศรีธรรมราช โทร. (075) 356364

ทางอากาศ
บริษัทการบินไทย จำกัด เปิดเที่ยวกรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1.40 ชั่วโมง รายละเอียดติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ บริษัทการบินไทย จำกัด โทร. 280-0060, 628-2000 และที่นครศรีธรรมราช โทร. (075) 342491, 343874

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด
มีรถสอง แถววิ่งบริการรอบเมือง ส่วนการคมนาคมจากจังหวัดนครศรีธรรม ราชไปสู่จังหวัดข้างเคียง สามารถเลือกใช้บริการได้ทั้งรถตู้ รถแท็กซี่ รถโดยสาร รถไฟ และเครื่องบิน

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ

  • อำเภอปากพนัง 36 กิโลเมตร
  • อำเภอทุ่งสง 55 กิโลเมตร
  • อำเภอฉวาง 71 กิโลเมตร
  • อำเภอร่อนพิบูลย์ 32 กิโลเมตร
  • อำเภอชะอวด 71 กิโลเมตร
  • อำเภอท่าศาลา 28 กิโลเมตร
  • อำเภอเชียรใหญ่ 52 กิโลเมตร
  • อำเภอสิชล 66 กิโลเมตร
  • อำเภอหัวไทร 66 กิโลเมตร
  • อำเภอลานสกา 21 กิโลเมตร
  • อำเภอทุ่งใหญ่ 102 กิโลเมตร
  • อำเภอพิปูน 93 กิโลเมตร
  • อำเภอพรหมคีรี 21 กิโลเมตร
  • อำเภอบางขัน 94 กิโลเมตร
  • อำเภอถ้ำพรรณรา 25 กิโลเมตร
  • อำเภอจุฬาภรณ์ 50 กิโลเมตร
  • อำเภอขนอม 100 กิโลเมตร
  • ระยะทางจากตัวจังหวัดไปยังจังหวัดใกล้เคียง

  • จังหวัดสุราษฎร์ธานี 356 กิโลเมตร
  • จังหวัดตรัง 131 กิโลเมตร
  • จังหวัดพัทลุง 193 กิโลเมตร
  • จังหวัดสงขลา 313 กิโลเมตร
  • จังหวัดกระบี่ 336 กิโลเมตร
  • อาณาเขต และการปกครอง :

    ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและอ่าวไทย
    ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพัทลุง สงขลา และตรัง
    ทิศตะวันออก ติดต่อกับชายทะเลฝั่งอ่าวไทย
    ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี และกระบี่

    แบ่งการปกครองออกเป็น 19 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอชะอวด อำเภอทุ่งสง อำเภอท่าศาลา อำเภอฉวาง อำเภอสิชล อำเภอหัวไทร อำเภอลานสกา อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอพิปูน อำเภอนาบอน อำเภอพรหมคีรี อำเภอขนอม อำเภอบางขัน อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอจุฬาภรณ์ กิ่งอำเภอพระพรหม และกิ่งอำเภอนบพิตำ

    หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 075)

    สำนักงานจังหวัด

    341-204, 346-172

    ศาลากลางจังหวัด

    341-204, 346-172

    สถานีตำรวจภูธร

    356-500, 345-805

    สถานีขนส่ง

    341-125

    สถานีรถไฟ

    356-346, 346-129

    การบินไทย

    342-291, 343-874, 331-161

    ททท. สำนักงานภาคใต้ เขต 2

    346-515-6

    รพ.มหาราช-นครศรีธรรมราช

    342-019-20

    รพ.ฉวาง

    481-372 , 481-115

    รพ.ทุ่งสง

    411-384 , 411-785

    รพ.ลานสกา

    391-123

    รพ.ปากพนัง

    517-019

    รพ.นาบอน

    419-332

    รพ.ขนอม

    529-033

    รพ.พรหมคีรี

    396-123

    รพ.ร่อนพิบูลย์

    441-020

    0 Responses